บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่4
วันจันทร์ที่5กันยายน พ.ศ.2559 เวลา08.30-11.30 ห้อง (15-0908)เนื้อหา/สาระการเรียนรู้
ปั้มใบมาเรียนหลังจากนั้นเข้าสู่บทเรียน บทที่4 โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ
โครงการ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย
โครงการแม่สอนลูก
- ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
- จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน
- ใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ รู้จักคิดและเรียนรู้มโนทัศน์ด้านต่างๆ
- ใช้รูปแบบการทดองสอนแม่เพื่อสอนลูกที่บ้าน โดยอาศัยรูปแบบโครงการ การเยี่ยมบ้านของประเทศอิสราเอล
- ดำเนินการโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.อุบลราชธานี
- เป็นโครงการทดลองหารูปแบบในการให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในชุมชน ได้นำแนวทางของโปรงแกรม Hippy Program ของประเทศอิสราเอล
ก การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า
3
ปี
ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย
กระทรวงสาธารณสุข
เกิดจากความต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี ด้วยการให้พ่อแม่
ผู้ปกครองเป็นผู้เลี้ยงดูที่มีคุณภาพ โดยใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
ประกอบด้วย 4
รูปแบบ
คือ
- วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
- วิธีการสนทนากลุ่ม
- วิธีอภิปรายกลุ่ม
- วิธีการบรรยาย
โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
-
แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
-
คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
- หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
- ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
- จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของครอบครัว
“บ้านล้อมรัก”
- ผ่านโทรทัศน์ในรูปแบบสารคดีและแทรกในรายการโทรทัศน์
-
ผ่านสื่อวิทยุในรูปแบบสารคดีสั้น สปอตประชาสัมพันธ์ กิจกรรม และสัมภาษณ์
-
สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ จดหมายข่าว โปสเตอร์ สติกเกอร์ เสื้อยืด เป็นต้น
-
กิจกรรมส่งเสริมความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว เช่น เกม กีฬา
เป็นต้น
โครงการหนังสือเล่มแรก
(Bookstart
Thailand)
โครงการหนังสือเล่มแรก
เริ่มต้นขึ้นในปี 2546
โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
ซึ่งในปีนั้นรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นปีแห่งการอ่าน
ส่วนภาคเอกชนโดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยได้เริ่มดำเนินโครงการ
“รวมพลัง รักการอ่าน”
ขึ้นในปีนี้เช่นเดียวกัน
โดยมีเป้าหมายที่จะให้พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ
สร้างพื้นฐานการอ่านและสานสัมพันธ์ในครอบครัว
ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่านและประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งองค์กรท้องถิ่นในการรณรงค์โครงการ
โดยการจัดทำถุงบุ๊คสตาร์ท (book start) ติดตามประเมินผลครอบครัวในโครงการ
โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
เป็นการดำเนินงานร่วมกันของกรมการพัฒนาชุมชน
กรมการศึกษานอกโรงเรียน กรมอนามัย สำนักงานปรัดกระทรวงสาธารณสุข
และอีกหลายหน่วยงาน วัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ให้พ่อแม่
สมาชิกในครอบครัวเยาวชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโตมีพัฒนาการตามวัยต่อเนื่องสอดคล้องกับวิถีชีวิตครอบครัวและสังคมของเด็ก
โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ
โครงการ
การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
ประเทศอิสราเอลถือเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาค่อนข้างสูง
เพราะถือว่าการศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพ ดังนั้น
จึงมีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 3-4 ปี
โดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ
งานการศึกษาเด็กโดยพ่อแม่ผู้ปกครองถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการศึกษาของอิสราเอลตั้งแต่ระดับอนุบาล
การทำงานระหว่างบ้านกับโรงเรียนและชุมชนจึงพบได้ในทุกโรงเรียน
ซึ่งถือเป็นงานปกติที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามหน้าที่
โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัยที่เรียกว่าALEH
(Early Childhood Enrichment Center)
-
สอนแม่ที่อายุยังน้อยให้รู้จักใช่สื่อ-อุปกรณ์ (ของเล่น) เกมการเล่นเพื่อพัฒนาเด็ก
และถ้าเด็กมีปัญหาทางด้านพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาก็จะเสนอแนะให้รู้จักกับนักสังคมสงเคราะห์เพื่อรับฟังคำแนะนำ
-
จัดกิจกรรมสอนให้แม่ทำของเล่นให้ลูกหรือคิดสร้างเกมการเล่นกับลูก
-
ประสานงานกับคลินิกครอบครัวแม่และเด็ก
จัดกิจกรรมเสนอแนะให้แม่ที่ไม่เคยมีเวลาว่างไปร่วมในศูนย์ ALEH
เพื่อจัดกิจกรรมในข้อขั้นต้น
โครงการเสนอแนะให้แม่สอนลูกเลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี
อาจเรียกโครงการนี้ว่าเป็นการจัดการศึกษานอกระบบแก่พ่อแม่ก็ว่าได้
โดยโครงการนี้ชื่อ HATAF
โปรแกรม
เป็นโครงการที่ร่วมมือกันทำระหว่างมหาวิทยาลัยเยรูซาเล็มกับกระทรวงศึกษาธิการ
เป็นโครงการที่จัดรูปแบบการสอนพ่อแม่ที่มีลูกอายุ 1-3ปี
ซึ่งกิจกรรมที่สอนพ่อแม่ผู้ปกครองก็คือ ให้พ่อแม่ได้พัฒนาทักษะการพูด-คุยกับลูก
ได้เรียนรู้พัฒนาการทั้งทางด้านสติปัญญา อารมณ์และสังคม
สอนให้พ่อแม่จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมให้ลูกอย่างง่ายๆ
รู้จักใช้วัวดุในครัวเรือนและท้องถิ่นเป็นสื่อ –อุปกรณ์
และสอนให้รู้จักจัดกิจกรรมการเล่นกับลูกที่มีอายุ 1-3 ปี
โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก
จัดขึ้นสำหรับเด็ก
4-6 ปี พร้อมด้วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง
วัตถุประสงค์เพื่อ
ส่งเสริมให้พ่อแม่ผู้ปกครองใช้เวลาว่างร่วมกับลูกในการสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์
และสนุกกับกิจกรรม-ผลงานที่ลูกสร้างขึ้น โดยมีวิทยากรเป็นครูจากเนสเซอรี่ หรือ รร.อนุบาลหรือผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะ-ดนตรี
เกมการศึกษา นาฏศิลป์ ร้องรำทำเพลง ฯลฯ
โดยก่อนเริ่มกิจกรรมจะมีกรพูดคุยกับพ่อแม่ถึงกิจกรรมที่จะเล่นกับเด็ก
และเมื่อจบกิจกรรมก็จะมีการพูดคุยสรุปและประเมินผลที่ได้ในวันนั้นๆ ระหว่างพ่อแม่
ผู้ปกครองและผู้จัด
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
-
เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย รวมทั้งลักษณะของชีวิตครอบครัว
-
ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมของเด็ก
-
ได้อภิปรายเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและประเพณีที่มีต่อชีวิตครอบครัว
-
เพื่อให้เข้าใจลักษณะและจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา
โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่
-
ให้เข้าใจเรื่องความต้องการทางการศึกษาของเด็ก
-
ให้สนับสนุนในการช่วยเหลือในการเรียนของเด็กจนประสบความสำเร็จ
-
สามารถที่จะติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างครู ผู้บริหารและนักเรียน
-
ให้มีส่วนร่วมในการออกแบบรับความช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่ไม่ได้มาโรงเรียน เช่น
การให้บริการเอกสารในเรื่องต่างๆ
โครงการ เฮดสตาร์ท (Head
Start)
โครงการเฮมสตาร์ทมีฐานะเสมือนห้องปฏิบัติการระดับชาติเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยมีวัตถุประสงค์
ดังนี้
-
สร้างครอบครัวให้เข้มแข็งในการอบรมเลี้ยงดูเด็กขั้นต้น
-
เชื่อมโยงเด็กและครอบครัวต่อการบริการชุมชนที่มีความต้อการจำเป็น
-
ประกันโครงการที่จัดการดีว่าพ่อแม่เด็กมีส่วนร่วมในการตกลงใจ
โครงการโฮมสตาร์ท(HomeStart Program)
เป็นการนำพ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาของเด็กเล็กซึ่งอยู่ภายใต้โครงการใหญ่
คือ เฮดสตาร์ท เป้าหมายคือ
เพื่อสร้างความสำนึกให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของตนที่มีต่อเด็ก
และชี้ให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก
เห็นคุณค่าของการมีส่วนร่วมของมารดาที่มีผลต่อการเรียนของเด็กด้อยโอกาส
โดยช่วยเหลือสนับสนุนให้ครอบครัวมีความสามารถดูแลเด็กอย่างถูกต้องและมีสมรรถภาพ
โครงการสมาร์ท
สตาร์ท (Smart Start)
ก่อตั้งโดยนายจิม ฮั้น ผู้ว่าการมลรัฐแคโรไลนาเหนือ ในปี
พ.ศ. 2536
ได้จัดให้มีคณะทำงานศึกษาสาระปัญหาเด็กเล็ก
โดยเฉพาะในด้านการอบรมเลี้ยงดูและการศึกษาของเด็กเล็ก
ปัจจุบันกระทรวงทรัพยากรมนุษย์เป็นผู้ดำเนินโครงการ
โครงการนี้สร้างสรรค์ขึ้นจากความคิดริเริ่มด้านเด็กเล็กจากแรงผลักดันของท้องถิ่น
ชุมชนรวมตัวกันเข้าเรียกร้องความต้องการให้เด็กเล็ก
โดยมีเป้าหมายที่เด็กอายุต่ำกว่า 6
ปี ให้มีสุขภาพและความพร้อมที่จะเรียนให้สำเร็จ
โครงการ
Brooklyne
Early Childhood
เป็นโครงการที่ฝึกให้ผู้ปกครองเป็นครูในการสอนลูก ดำเนินการโดย Brooklyne
Public School ซึ่งได้รับความร่วมมือจากศูนย์การแพทย์ในโรงพยาบาลเด็ก
ในการจัดการศึกษาให้แก่ผู้ปกครอง
โดยการจัดให้มีการตรวจสุขภาพเด็กเบื้องต้นเพื่อให้สามารถรักษาดูแลความเจ็บป่วย
ความพิการหรือข้อบกพร่องต่างๆ ในระยะต้นได้
นอกจากนี้ยังให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการเลี้ยงดูเด็กอย่างถูกวิธี
และวิธีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไป
ด้วยการฝึกให้เด็กเล่นรวมกลุ่ม
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์
ประเทศนิวซีแลนด์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาปฐมวัย
โดยการศึกษาในระดับนี้จะให้โอกาสผู้ปกครองใช้สิทธิในฐานะหุ้นส่วนในการจัดการศึกษาปฐมวัย
และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรหลาน
ครูอนุบาลที่มีความสามารถจะให้โอกาสผู้ปกครองและครอบครัวแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก
การเรียนการสอน และส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ปกครองอยู่ด้วยในช่วงที่มีการเรียน
โครงการ
เพลย์เซ็นเตอร์
เป็นโครงการที่กล่าวได้ว่า
พ่อแม่ไปมีส่วนร่วมด้วยทั้งหมด นับตั้งแต่การจัดตั้ง การบริหาร การดำเนินงาน
โดยมีการควบคุมมาตรฐานที่รัฐบาลรับรองและมาสมารถจัดบริการให้แก่เด็กเล็กได้ประมาณหนึ่งในสามของเด็กปฐมวัยทั้งหมดของประเทศ
ปรัชญาในการทำงานคือ
“พ่อแม่คือครูคนแรก
และเป็นครูที่ดีที่สุดของลูก”
โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
เป็นโครงการที่โรงเรียนจัดนิทรรศการสำหรับผู้ปกครอง
เพื่ออธิบายถึงปรัชญาที่เป็นรากฐานของการศึกษาปฐมวัย
และนโยบายเรื่องประโยชน์ของการศึกษาที่มีต่อผู้ปกครอง
โครงการ
“พ่อแม่คือครูคนแรก” (Parents as First Teachers)
เป็นโครงการที่ให้ความช่วยเหลือแนะนำและให้ข้อมูลแก่พ่อแม่ให้มีความรู้ความเข้าเข้าใจพัฒนาการของเด็กก่อนเกิดและตั้งแต่เกิดถึง
3 ขวบ
รัฐบาลส่งเสริมให้พ่อแม่ทุกคนเข้าร่วมโครงการได้ตามความสมัครใจและไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
ทั้งสิ้น
โครงการนี้จะคัดเลือกพ่อแม่ที่ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจอย่างดีมาเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เรียกว่า
“พ่อแม่นักการศึกษา”
โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย
มีรูปแบบในการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในลักษณะที่เรียกว่า
(Early Childhood Center)
หรือ ศูนย์สุขภาพเด็ก (Baby
Health Center)
เป็นศูนย์ที่ให้บริการคำแนะนำฟรีสำหรับพ่อแม่และทารกจนถึง 5 ปี
เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์จะเป็นพยาบาลทั่วไป
จะทำการนัดหมายให้พ่อแม่พาลูกไปชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ดูพัฒนาการของลูก
ไปเยี่ยมบ้าน โดยเฉพาะทารกที่มีปัญหา เช่น
ตัวเหลืองรวมทั้งไปสอนการดูแลการอาบน้ำเด็กทารกจนกระทั่งแม่แข็งแรงดี
มีการจดบันทึกข้อมูลเด็กลงในสมุดสีฟ้า (blue book) ซึ่งเด็กทุกคนต้องมีสมุดเล่มนี้
สำคัญเหมือนบัตรประชาชน
นอกจากนี้ก็จะให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกายและใจ
โดยเฉพาะคุณแม่ที่เพิ่งมีลูกคนแรก
โครงการบุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ
(Bookstart
UK)
โครงการ
บุ๊คสตาร์ท หรือเรียกว่า
“หนังสือเล่มแรก” ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดย นางเวนดี้ คูลลิ่ง ภายใต้ บุ๊คทรัสต์
ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่มีจุดมุ่งหมายในการนำหนังสือสู่คน นำคนสู่หนังสือ
นับเป็นโครงการแรกของโลกที่ว่าด้วยหนังสือสำหรับเด็กทารก
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กทารกในอังกฤษทุกคนได้รับโอกาสและสนับสนุนให้พัฒนาความรู้สึกรักหนังสือและการอ่านไปตลอดชีวิต
ด้วยการจัดสรรให้เด็กทารกทุกคนได้รับ “ถุงบุ๊คสตาร์ท”
“ถุงบุ๊คสตาร์ท”
ภายในถุงประกอบด้วย
-หนังสือที่ได้รับการคัดสรรแล้ว
2 เล่ม
-หนังสือแนะนำพ่อแม่ด้วยภาพเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กและโยงไปถึงการเลี้ยงดูด้วยหนังสือ
-ของชำร่วยสำหรับเด็ก
เช่น ผ้ารองจานฯลฯ
-แผนที่แนะนำห้องสมุดแถวละแวกบ้าน
-บัตรสมาชิกห้องสมุดสำหรับเด็ก
-รายชื่อหนังสือสำหรับเด็ก
-รายชื่อศูนย์สนับสนุนคุณแม่เลี้ยงลูก
โครงการบุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น
(Bookstart
Japan)
เมื่อปี
พ.ศ. 2543
ญี่ปุ่นประกาศให้เป็น
“ปีแห่งการอ่านของเด็ก” และได้มีการนำโครงการบุ๊คสตาร์ทของประเทศอังกฤษเข้ามาเผยแพร่ในญี่ปุ่น
โดยมีศูนย์สนับสนุนบุ๊คสตาร์ทเป็นเจ้าของโครงการ
ด้วยหลักการและเหตุผลที่ว่า ภาษามีความสำคัญต่อการหล่อเลี้ยงจิตใจเด็ก
เด็กเล็กต้องการอ้อมกอดอันอบอุ่นและเสียงพูดคุยอย่างอ่อนโยน โครงการบุ๊คสตาร์ทสนับสนุนสัมผัสอันอบอุ่นโดยมี
“หนังสือภาพ” เป็นสื่อกลาง โดยทดลองที่เขตสุงินามิ ในกรุงโตเกียวเมื่อเดือนเมษายน
พ.ศ. 2544
ได้รับความร่วมมือจากศูนย์อนามัย
ห้องสมุดและหน่วยงานสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็กสามองค์กรร่วมกันแจกถุงบุ๊คสตาร์ทแก่แม่ที่พาลูกมาตรวจสุขภาพในช่วงอายุ
4 เดือน โดยมีเป้าหมาย 200 ครอบครัว
และก็ได้มีการแพร่ขยายไปอย่างรวดเร็วในประเทศญี่ปุ่น
*******************************************************************
คำถามท้ายบท
1.ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
ตอบ การให้ผู้ปกครองเตรียมความพร้อมให้แก่เด็ก ทั้งเรื่องพัฒนาการ การดูแลเพื่อให้มีคุณภาพในการเลี้ยงดูลูก
*******************************************************************
2.นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
จงอธิบาย
ตอบจัดตั้งกลุ่มบุคคลสำหรับการให้ความรู้ผู้ปกครอง และมีเอกสารการให้ความรู้ผู้ปกครองในทุกๆสัปดาห์
*******************************************************************
3.
ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต
จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก
มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ
1.พัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัย ว่าเด็กในเเต่ละวัยจะต้องมีพัฒนาการอย่างไร
2.การอบรมเลี้ยงดู เช่นการเลี้ยงดูเด้กที่ถูกต้องเเละเหมาะสม
3.อาหารสำหรับเด็กปฐมวัย เช่น เด้กในวัยนี้ควรได้รับสารอาหารอะไรบ้าง
4.สุขภาพอนามัย เช่น การดูแลรักษาความสะอาด
5.นิทานและเพลงสำหรับเด็ก เช่นการอ่านนิทานที่ถุกต้องเเละการเลือกหนังสือนิทานที่เหมาะกับวัยของเด็ก
1.พัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัย ว่าเด็กในเเต่ละวัยจะต้องมีพัฒนาการอย่างไร
2.การอบรมเลี้ยงดู เช่นการเลี้ยงดูเด้กที่ถูกต้องเเละเหมาะสม
3.อาหารสำหรับเด็กปฐมวัย เช่น เด้กในวัยนี้ควรได้รับสารอาหารอะไรบ้าง
4.สุขภาพอนามัย เช่น การดูแลรักษาความสะอาด
5.นิทานและเพลงสำหรับเด็ก เช่นการอ่านนิทานที่ถุกต้องเเละการเลือกหนังสือนิทานที่เหมาะกับวัยของเด็ก
*******************************************************************
4.การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย
ตอบส่งผลต่อเด็กเมื่อผู้ปกครองทราบถึงเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับเด็กเช่น อาหารสำหรับเด็กก็จะทำให้เด็กได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน
*******************************************************************
5.นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ ไปตรวจเยี่ยมบ้านของผู้ปกครองที่เราไปให้ความรู้แล้วพูดคุยสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กที่ผ่านมา
*******************************************************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น